เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ได้แก่ เครื่องหมายการค้าอันมีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่น แต่คำว่า “กุ้ง” ไม่เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าน้ำปลาโดยตรง ทั้งเมื่อกล่าวถึงคำว่า “กุ้ง” ก็ไม่ทำให้สาธารณชนนึกถึงสินค้าน้ำปลา ดังนั้น การที่จะอ้างประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อแสดงว่า “กุ้ง” เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า “น้ำปลา” น่าจะไม่ถูกต้อง และไม่อาจนำมาใช้พิจารณาเกี่ยวกับลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายได้เพราะเป็นคนละกรณีกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4528/2553
คำว่า “กุ้ง” ไม่เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าน้ำปลาโดยตรง ทั้งเมื่อกล่าวถึงคำว่า “กุ้ง” ก็ไม่ทำให้สาธารณชนนึกถึงสินค้าน้ำปลา
ประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ 1/2546 เรื่อง กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย กำหนดในทำนองเดียวกับประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่
1/2535 เรื่อง กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย คือ กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า “น้ำปลาและกะปิ” คือ “กุ้ง” และกำหนดสิ่งที่ใช้กัน
สามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า “น้ำปลา” คือ “ปลา” ดังนั้น การที่จะอ้างประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อแสดงว่า “กุ้ง” เป็นสิ่งที่ใช้กัน
สามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า “น้ำปลา” จึงไม่ถูกต้อง และไม่อาจนำมาใช้พิจารณาเกี่ยวกับลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายได้เพราะเป็นคนละกรณีกัน
________________________________
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 2 ตามคำสั่งที่ พณ 0704/22349 พณ 0704/22350 และ พณ 0704/22351 ลงวันที่ 1 กันยายน 2548 ให้เพิก
ถอนคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 3 และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ 1705/2549, 1706/2549 และ 1707/2549 ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ดำเนินการ
รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำขอเลขที่ 496547 496548 และ 496549 ต่อไป หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา
จำเลยทั้งสามให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ตามหนังสือที่ พณ 0704/22349, พณ
0704/22350 และ พณ 0704/22351 ลงวันที่ 1 กันยายน 2548 และให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ 1705/2549 1706/2549 และ
1707/2549 ที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า “ตรากุ้งมังกร” และรูปกุ้งมังกรของโจทก์ ให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ ตามคำขอเลขที่ 496547, 496548 และ 496549 ต่อไป คำขออื่นให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างวินิจฉัยว่า ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามมีว่า คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมาย
การค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนี้ คำหรือข้อความที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงตาม
กฎหมายนั้น หมายถึงกรณีมีความเป็นไปได้ที่คำหรือข้อความจะเป็นลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้า จึงมีประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ 1/2546 เรื่อง
กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย กำหนดให้ “กุ้ง” เป็นสิ่งที่ใช้เป็นสามัญในการค้าขายสินค้าน้ำปลาและซอสถั่วเหลือง ทั้งการตีความพระราชบัญญัติเครื่องหมาย
การค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) ควรจะตีความให้กว้างขวางและสามารถใช้บังคับได้ เห็นว่า พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง
(2) นั้นถือว่า คำหรือข้อความที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงเป็นคำที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เมื่อพิจารณาจากสินค้าน้ำปลาก็จะพบว่ามีความหมายว่า
น้ำสำหรับปรุงอาหารให้มีรสเค็ม ทำจากปลาหรือสิ่งอื่นหมักกับเกลือ จำเลยทั้งสามไม่ได้โต้แย้งข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างว่า น้ำปลาโดยทั่วไปไม่ได้ใช้กุ้งเป็นส่วนผสม ส่วน
อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามในทำนองว่า อาจมีการใช้กุ้งมังกรไปผลิตเป็นสินค้าน้ำปลานั้นก็เป็นเพียงความเห็น จึงไม่อาจถือได้ว่า “กุ้ง” เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือ
คุณสมบัติของสินค้าน้ำปลาโดยตรง ทั้งยังฟังไม่ได้ว่าเมื่อกล่าวถึงคำว่า “กุ้ง” แล้วจะทำให้สาธารณชนนึกถึงสินค้าน้ำปลาดังที่จำเลยทั้งสามอ้าง
นอกจากนี้ประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ 1/2546 เรื่อง กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายนั้น คงกำหนดในทำนองเดียวกับประกาศนายทะเบียนเครื่อง
หมายการค้าที่ 1/2535 เรื่อง กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย คือ กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า “น้ำปลาและกะปิ” คือ “กุ้ง” และ
กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า “น้ำปลา” คือ “ปลา” ดังนั้น การที่จะอ้างประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อแสดงว่า “กุ้ง”
เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า “น้ำปลา” น่าจะไม่ถูกต้อง และไม่อาจนำมาใช้พิจารณาเกี่ยวกับลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายได้เพราะเป็น
คนละกรณีกัน ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยมานั้นชอบแล้ว
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ
( ไมตรี ศรีอรุณ - อร่าม เสนามนตรี - สมควร วิเชียรวรรณ )
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง - นางสาวกาญจนา เกิดโพธิ์ทอง