ศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องจำเลยที่ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาได้

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการหรือจำยอมต่อสิ่งใดโดยมีอาวุธ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิด จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องจำเลยที่ 1 โจทก์ฎีกา ศาลฎีกายกฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกาแต่ต้นได้ เนื่องจากข้อเท็จจริงแห่งการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 เกี่ยวพันเป็นอันเดียวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่เป็นความผิด ดังนั้นปัญหาที่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ว่าจำเลยที่ 2 จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ ก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกฟ้องจำเลยที่ 2 ให้พ้นจากความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการหรือจำยอมต่อสิ่งใดโดยมีอาวุธได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6815/2552


พนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรี โจทก์

ตามคำเบิกความของประจักษ์พยานโจทก์ไม่ปรากฏว่าทั้งก่อนหรือขณะที่ ส. ชักอาวุธปืนพกออกมาจี้ที่หน้าอกของผู้เสียหาย จำเลยทั้งสองซึ่งอยู่ห่าง 3 ถึง 4 เมตร ได้กระทำการอย่างใดที่เห็นได้ว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนในการที่ ส. ชักอาวุธปืนพกออกมาจี้ผู้เสียหาย กรณีจึงมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับ ส. กระทำความผิดหรือไม่ แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ฎีกา แต่ข้อเท็จจริงแห่งการกระทำของจำเลยที่ 2 เกี่ยวพันเป็นอันเดียวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่เป็นความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ทั้งปัญหาว่า การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ว่าจะไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องจำเลยที่ 2 ให้พ้นจากความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการหรือจำยอมต่อสิ่งใดโดยมีอาวุธได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185, 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 215 และ 225

สำหรับคำขอคืนของกลางอื่นที่เหลือแก่เจ้าของ ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าเจ้าพนักงานตำรวจยึดเครื่องยนต์ดีเซล 1 เครื่อง หลังคารถขนาดเล็กพับได้ 1 หลัง ท่อไอเสียเฮดเดอร์รถยนต์ 1 ชุด กันชนหน้าและกันชนหลังรถยนต์ 1 ชุด อันเป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งของผู้เสียหายที่จำเลยทั้งสองร่วมกันเอาไปเป็นของกลางและขอให้คืนของกลางดังกล่าวแก่เจ้าของ คำขอดังกล่าวเป็นคำขอให้ศาลมีคำสั่งคืนของกลางแก่เจ้าของเมื่อศาลพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 มิใช่คำขอส่วนแพ่งที่ให้พนักงานอัยการเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้กระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ กรณีไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 43 และยกคำขอดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องโดยให้คืนของกลางอื่นแก่เจ้าของตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49
________________________________

คดีนี้ เดิมศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4081/2546 ของศาลชั้นต้น แต่คดีดังกล่าวยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นคงขึ้นมาสู่ศาลฎีกาเฉพาะคดีนี้

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 58, 83, 340, 340 ตรี, 371, 33 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 8 ทวิ, 72, 72 ทวิ ริบรถยนต์กระบะของกลาง คืนของกลางอื่นที่เหลือแก่เจ้าของ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนจำนวน 4,700 บาท แก่ผู้เสียหาย นำโทษจำคุก 6 เดือน ของจำเลยที่ 2 ที่ศาลชั้นต้นให้รอการลงโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2864/2540 มาบวกเข้ากับโทษของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้และนับโทษจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 535/2542 ของศาลชั้นต้น

จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ แต่จำเลยที่ 2 รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้บวกโทษและนับโทษต่อ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสอง ประกอบมาตรา 83 และจำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ประกอบด้วยมาตรา 83 การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการหรือจำยอมต่อสิ่งใดโดยมีอาวุธ จำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 6 เดือน ฐานร่วมกันมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 1 ปี ฐานร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน และทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 6 เดือน ทางนำสืบของจำเลยที่ 1 เฉพาะความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กระทงละหนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 รวมคงให้จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 18 เดือน ข้อหาและคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

จำเลยที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกดังกล่าวกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ เห็นว่า ตามคำเบิกความของผู้เสียหายและนางกำไลประจักษ์พยานโจทก์ดังกล่าวไม่ปรากฏว่าทั้งก่อนหรือขณะที่นายสันติชักอาวุธปืนพกออกมาจี้จ่อที่หน้าอกของผู้เสียหาย จำเลยทั้งสองซึ่งอยู่บริเวณรถจอดห่างจากนายสันติ 3 ถึง 4 เมตรนั้น ได้กระทำการอย่างใดที่เห็นได้ว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนในการที่นายสันติชักอาวุธปืนพกออกมาจี้ผู้เสียหาย คงได้ความเพียงว่าหลังจากนายสันติสอบถามผู้เสียหายถึงพี่ชายของผู้เสียหายหายแล้ว นายสันติเดินไปที่เพิงเก็บเครื่องยนต์ดีเซลห่างจากจุดที่นายสันติใช้อาวุธปืนพกจี้ผู้เสียหายประมาณ 3 วา จำเลยที่ 1 ก็เดินตามไปที่เพิงดังกล่าวเท่านั้น ที่สำคัญ ผู้เสียหายก็ดี นางกำไลก็ดี ต่างก็เบิกความตอบคำถามค้านของทนายจำเลยทั้งสองยอมรับว่า ขณะเกิดเหตุดังกล่าว จำเลยทั้งสองไม่ได้เข้าทำร้ายหรือพูดจาข่มขู่ผู้เสียหายและนางกำไลอย่างใด โดยเฉพาะนางกำไลยังยืนยันด้วยว่าตอนที่นายสันติถืออาวุธปืนจี้ผู้เสียหาย จำเลยทั้งสองยังอยู่บนรถ ซึ่งอากัปกริยาดังกล่าวของจำเลยทั้งสองเป็นพฤติการณ์ที่เจือสมด้วยข้อนำสืบต่อสู้ของจำเลยทั้งสองที่ว่า วันเกิดเหตุนายสันติว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์กระบะของกลางที่จำเลยที่ 1 มีไว้รับจ้าง มาขนทรัพย์ที่บ้านลูกหนี้ จำเลยที่ 1 จึงชวนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นน้องชายนั่งรถมาด้วย กรณีจึงมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับนายสันติกระทำความผิดหรือไม่ ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 มา ที่โจทก์ฎีกาโต้แย้งว่าจำเลยที่ 1 ร่วมเดินทางมาด้วยกับนายสันติแสดงว่าสนิทสนมกัน และถึงแม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้แสดงท่าทางอะไร แต่ก็อยู่ในที่เกิดเหตุในลักษณะยืนคุมเชิงพร้อมที่จะช่วยเหลือทันที กับทั้งการที่นิ่งเฉยแต่ยังช่วยขนสิ่งของด้วยแสดงว่ามีความคิดร่วมกันมาก่อนที่จะขู่เข็ญข่มขืนใจผู้เสียหายเพื่อนำทรัพย์ไปนั้น เห็นว่า จำเลยที่ 1 มีอาชีพขับรถตามที่มีผู้ว่าจ้างทั่วไป การที่จำเลยที่ 1 ร่วมเดินทางมาด้วยกับนายสันติโดยเป็นผู้ขับรถมาดังคำเบิกความของผู้เสียหายจึงมิใช่ข้อบ่งชี้ว่าจำเลยที่ 1 กับนายสันติต้องสนิทสนมกัน ทั้งขณะเกิดเหตุมีนางกำไลอยู่ด้วยกับผู้เสียหาย หากจำเลยทั้งสองมีความคิดร่วมกันกับนายสันติมาก่อน จำเลยทั้งสองก็น่าจะแสดงท่าทางเข้าระวังบังคับนางกำไลไว้ด้วย เชื่อว่าที่นายสันติเดินเข้าไปหาผู้เสียหายและชักอาวุธปืนที่ติดตัวมาออกมาจี้จ่อผู้เสียหายเป็นกริยาอาการที่เกิดขึ้นฉับพลันทันทีโดยจำเลยทั้งสองมิได้คาดคิด มิใช่จำเลยทั้งสองรู้อยู่ว่านายสันติมีอาวุธปืนมาด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แม้ผู้เสียหายจะเบิกความว่า ขณะจำเลยทั้งสองกับนายสันติยกเครื่องยนต์ขึ้นรถผู้เสียหายยืนดูอยู่ที่บันไดบ้าน ทำนองว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนขืนน้ำใจผู้เสียหายในพฤติการณ์ซึ่งจำเลยทั้งสองน่าจะทราบและเข้าใจได้โดยธรรมดา แต่ตรงกันข้ามกลับได้ความจากนางกำไลตอบคำถามค้านของทนายจำเลยทั้งสองว่านางกำไลเห็นผู้เสียหายช่วยจำเลยทั้งสองยกเครื่องยนต์ขึ้นรถด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 มา ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ฎีกา แต่ข้อเท็จจริงแห่งการกระทำของจำเลยที่ 2 เกี่ยวพันเป็นอันเดียวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่เป็นความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังที่วินิจฉัยมากับทั้งปัญหาที่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ว่าจะไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกฟ้องจำเลยที่ 2 ให้พ้นจากความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการหรือจำยอมต่อสิ่งใดโดยมีอาวุธได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185, 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 215 และ 225 สำหรับคำขอคืนของกลางอื่นที่เหลือแก่เจ้าของนั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่าเจ้าพนักงานตำรวจยึดเครื่องยนต์ดีเซล 1 เครื่อง หลังคารถขนาดเล็กพับได้ 1 หลัง ท่อไอเสียเฮดเดอร์รถยนต์ 1 ชุด กันชนหน้าและชนหลังรถยนต์ 1 ชุด อันเป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งของผู้เสียหายที่จำเลยทั้งสองร่วมกันเอาไปเป็นของกลาง และขอให้คืนของกลางดังกล่าวแก่เจ้าของซึ่งคำขอดังกล่าวเป็นคำขอให้ศาลมีคำสั่งคืนของกลางแก่เจ้าของ เมื่อศาลพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 49 มิใช่คำขอส่วนแพ่งที่ให้พนักงานอัยการเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้กระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 และยกคำขอดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้อง โดยให้คืนของกลางอื่นที่เหลือแก่เจ้าของตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 49

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 ด้วย และให้คืนของกลางอื่นที่เหลือแก่เจ้าของ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7.

( พินิจ สายสอาด - อร่าม เสนามนตรี - อร่าม แย้มสอาด )
ศาลจังหวัดกาญจนบุรี - นายกิตติพงษ์ กลิ่นขจร
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 - นายทรงศิลป์ ธรรมรัตน์

มาตรา 49 แม้จะไม่มีฟ้องคดีส่วนแพ่งก็ตาม เมื่อพิพากษาคดี ส่วนอาญาศาลจะสั่งให้คืน ทรัพย์สินของกลางแก่

ทนายปรึกษาฟรี
ชมรมปรึกษาคดีฟรี ทั่วประเทศฯ (ช ป.ท.)
hello! I am an admin of the People's Lawyer - Free Legal Consultation Club Nationwide (Chor.Por.T.A.) giving advice - like a relative - free of charge, call or add Line 089 214 2456
สวัสดี! ฉันเป็นแอดมินของทนายอาสา - ชมรมปรึกษาคดีฟรีทั่วประเทศฯ (ช.ป.ท.) ให้คำปรึกษา- ดุจญาติมิตร - ไม่คิดค่าใช้จ่าย โทร.หรือ แอดไลน์ 089 214 2456


X
ติดตั้ง แอพพลิเคชั่น บนมือถือ

🌈👉ติดตั้ง แอปพลิเคชัน👈🌈

💖⚖️“ (ทนายความประชาชน) ”⚖️💖

https://play.google.com/store/apps/

X
ติดตั้ง แอพพลิเคชั่น บนมือถือ